ผู้หญิงที่เคยผ่านการมีบุตรล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาเต้านมที่คล้อยหย่อนยานแทบทั้งสิ้น มากน้อยต่างกันแล้วแต่ขนาดของเต้านมเดิม
เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เคยยึดตรึงเต้านมไว้มีการหย่อนยานจากการเพิ่มขึ้นของขนาดเต้านม ในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ หรือเต้านมที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งหน้าอกเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ยิ่งหย่อนยานมากเท่านั้น
ขึ้นอยู่กับระดับของความหย่อนคล้อยของเต้านม โดยปกติถ้าหัวนมอยู่ระดับเดียวหรือต่ำกว่าราวนมก็จัดว่าเข้าข่ายเต้านมคล้อย ในกรณีที่คล้อยไม่มากการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเฉพาะส่วนของผิวหนังก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคล้อยมากคงต้องแก้ไขส่วนของเต้านมร่วมด้วย
การผ่าตัดผิวหนังรอบปานนมออกเป็นวง แล้วเย็บจีบเข้าหากัน (Round block Mastopexy) นอกจากจะช่วยทำให้เต้านมกระชับมากขึ้นแล้ว ยังช่วยลดขนาดปานนมที่ใหญ่ไปพร้อมกันได้อีกด้วย เป็นการผ่าตัดเล็กสามารถทำที่คลินิกแล้วกลับบ้านได้
มักต้องใช้วิธีการผ่าตัดตัวเนื้อเต้านม แล้วจัดเรียงใหม่ คล้ายกับการผ่าตัดลดขนาดเต้านม ซึ่งจะมีรอยแผลให้เห็นบริเวณรอบปานนมและตัวเต้านม ขึ้นกับวิธีที่เลือกใช้ เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องทำในโรงพยาบาล
สามารถทำได้ เนื่องจากเต้านมที่คล้อยมักมีเนื้อนมบางส่วนที่ขาดหายไป โดยเฉพาะส่วนครึ่งบน ดังนั้นการเติมไขมันเข้าไปในส่วนนี้ให้เต็มสามารถช่วยยกกระชับตัวเต้านมขึ้นได้ในระดับหนึ่ง อีกทั้งยังทำให้รูปทรงของเต้านมดูดีขึ้นด้วย
ในกรณีที่เต้านมคล้อยไม่มาก การเสริมด้วยถุงนมเทียมสามารถดันให้เต้านมตั้งขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเต้านมคล้อยมากการเสริมด้วยถุงนมเทียมจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเต้านมคล้อยมากขึ้น ถุงนมและตัวเต้าจะอยู่แยกกันคนละส่วน