|
|
Lip shape represents your personality and portray |
|
|
|
ศัลยกรรมการตกแต่งริมฝีปากเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สามารถปรับแต่งรูปริมฝีปากให้ดูสวยงามคล้ายๆกับ Makeup Artist แต่เป็นในลักษณะที่ถาวรกว่า ไม่สามารถเปลี่ยนไปมาตามแฟชั่นได้ |
|
|
การทำริมฝีปากบาง |
|
ในกรณีที่ริมฝีปากหนาและไม่ได้รูป โดยเฉพาะริมฝีปากบน การผ่าตัดตกแต่งริมฝีปากให้เป็นรูปและได้สัดส่วนกับใบหน้าสามารถทำได้ไม่ยากนัก รูปริมฝีปากที่ได้รับความนิยมมักจะเป็นรูปคล้ายคันศรหรือที่เรียกว่า ปากกระจับ นั่นเอง หลังผ่าตัดจะมีอาการบวมบ้างประมาณ หนึ่งสัปดาห์ และจะมีรอยจางๆของแผลผ่าตัดตรงรอยต่อของริมฝีปากด้านนอกและเยื่อบุภายในริมฝีปาก การทาลิปสติกสามารถกลบเกลื่อนร่องรอยได้ ในกรณีของริมฝีปากล่างก็สามารถผ่าตัดให้บางลงได้เช่นกัน |
|
|
ทำไมหลังผ่าตัดเห็นเหงือกมากขึ้น |
|
ในกรณีที่เป็น Gummy smile หรือยิ้มเห็นเหงือกอยู่ก่อน ต้องระวังเป็นพิเศษเนื่องจากริมฝีปากที่บางลง อาจทำให้เวลายิ้มเห็นเหงือกมากจนเกินไปได้ คนที่มีริมฝีปากบางอยู่แล้วจึงไม่ควรไปตัดแต่งรูปริมฝีปากอีก เช่นเดียวกับริมฝีปากล่างที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าการผ่าตัดริมฝีปากล่างที่หนาจะทำให้ริมฝีปากหุบเข้าไปได้ ซึ่งในความจริงจะตรงกันข้ามคือทำให้เห็นเหงือกมากขึ้นเช่นกัน |
|
|
การทำริมฝีปากให้หนาขึ้น |
|
ศัลยกรรมประเภทนี้มักนิยมในหมู่คนยุโรปหรืออเมริกาที่มักมีปัญหาริมฝีปากบางเมื่ออายุมากขึ้น การทำให้ริมฝีปากหนาขึ้นด้วยการเติมเต็มด้วยเซลไขมัน (Microfat injection) หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากส่วนของผิวหนัง (Dermal fat graft) เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการตกแต่งให้ได้รูปริมฝีปากตามที่ต้องการมักจะทำไม่ได้ และการสลายของเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายลงไปบางส่วนอาจเกิดขึ้นได้ จึงอาจต้องรับการรักษามากกว่าหนึ่งครั้ง |
|
|
การตกแต่งริมฝีปากด้วยสารเติมเต็ม (Filler) |
|
สารเติมเต็ม (Dermal filler) หลายชนิดทั้งชนิดชั่วคราวและถาวรเป็นที่นิยมสำหรับนำมาตกแต่งริมฝีปากให้ได้รูปตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นการฉีดสารเข้าไปยังตำแหน่งที่ต้องการโดยตรงคล้ายๆกับการทาด้วยลิปสติก การใช้สารเติมเต็มบริเวณริมฝีปากต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เกิดการผิดรูปอย่างถาวรได้ โดยเฉพาะสารเติมเต็มชนิดกึ่งถาวรหรือถาวร ซึ่งมักจะส่งผลเสียในระยะยาว ดังนั้นถ้าต้องการใช้สารเติมเต็มควรเลือกใช้ชนิดชั่วคราวในกลุ่ม ไฮยารลูโรนิก ( Hyaluronic acid) จะดีกว่า แม้ว่าผลของการรักษาจะอยู่ได้เพียง 6-12 เดือน แต่ก็ปลอดภัยกว่าหรือถ้าเกิดปัญหาก็แก้ไขได้ไม่ยากนัก อย่างไรก็ตามสารไฮยาลูโรนิกเองยังมีหลายประเภท และการฉีดเองก็มีหลายวิธี ดังนั้นคงต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก |
|
|